เปปไทด์ Peptide

เปิดโลกสู่เรื่องราวของเปปไทด์ (Peptide) เพื่อไขข้อข้องใจว่าเปปไทด์คืออะไร มีที่มาอย่างไร และช่วยรักษาบรรเทาเรื่องของความปวดได้อย่างไร

เปปไทด์ (Peptide) เป็นหน่วยย่อยที่สุดของโปรตีน ซึ่งเปปไทด์ที่เราใช้ในการรักษาผู้ป่วยจะมีความจำเพาะเจาะจงสูงในแต่ละอวัยวะ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นและซ่อมแซมเซลล์ของอวัยวะนั้น ๆ ให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้น เช่น กรณีปัญสุขภาพจากโรคเบาหวาน นั่นก็เป็นเพราะตับอ่อนทำงานได้ไม่ดี กายคตาก็จะใช้เปปไทด์เซลล์จากตับอ่อนมาเพื่อช่วยซ่อมแซมตับอ่อน เรียกว่าเป็นการใช้เซลล์จากอวัยวะที่เกิดปัญหาโดยตรง จากเซลล์สมองก็นำมาเพื่อซ่อมแซมเซลล์สมอง เซลล์ข้อเข่าก็ซ่อมแซมข้อเข่า

หากถามว่าการที่ฉีดเปปไทด์เข้าไปแล้ว เปปไทด์จะไปช่วย ณ จุดที่เกิดปัญหาได้อย่างไร หากจะอธิบายแบบให้เห็นภาพง่าย ๆ นั่นก็คือ เปปไทด์แต่ละชนิดจะมีรหัสสัญญาณที่เป็นตัวชี้ว่าไปจุดใด โดยรหัสนี้คือกรดอะมิโนที่เรียงต่อกันที่ท้ายเปปไทด์ หากจะให้เห็นภาพโดยเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันก็เหมือนกับรหัสไปรษณีย์ที่จะบอกได้ว่าจะต้องส่งพัสดุไปที่ใด

เปปไทด์ CPT/FCT เกี่ยวกับเรื่องอาการปวด

สำหรับเปปไทด์ที่เราจะกล่าวถึงโดยเน้นในเรื่องการช่วยบรรเทารักษาเกี่ยวกับอาการปวดนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยมีปัญหาความปวดจากอวัยวะใด เช่น ปวดข้อ กระดูก หรือมวลกล้ามเนื้อไม่ดี เปปไทด์ที่ใช้มีทั้ง CPT และ FCT แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ FCT เนื่องจากเป็นเปปไทด์ที่ถูกสกัดจากแต่ละอวัยวะมาโดยตรงจึงนิยมใช้ในการรักษา

เมื่อต้องรักษาด้วยเปปไทด์ CPT/FCT

 การรักษาด้วยเปปไทด์ เป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาร่วมกับการรักษาหลักอื่น ๆ ที่แพทย์พิจารณา เช่น กรณีมีอาการปวดข้อ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ ตามอวัยวะที่เป็น และให้มีการรักษาโดยใช้เปปไทด์ร่วมด้วย บางกรณีแพทย์อาจเลือกใช้เปปไทด์มากกว่า 1 ชนิด ซึ่งเฉลี่ยแล้วการรักษาด้วยเปปไทด์ จะสามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้ไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ชนิด ชนิดละ 1 ครั้ง

ด้านผลของการรักษา จากที่ผ่านมานั้นในแต่ละคนจะรู้สึกแตกต่างกัน บ้างเห็นผลภายใน 1 เดือน บางคนรู้สึกอาการดีขึ้นใน 2 เดือน และบางกรณีรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายว่าดีขึ้น แต่บางคนอาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในช่วงแรก ๆ แต่ในทางกลับกันผลตรวจเลือดต่าง ๆ แสดงผลที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ก่อนการรักษาด้วยเปปไทด์ แพทย์จะอธิบายเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ป่วยทุกครั้งว่า การรักษาด้วยเปปไทด์ถึงแม้จะเป็นการฉีดเปปไทด์ที่เฉพาะเจาะจงแบบพุ่งเป้า แต่ด้วยเป็นการรักษาที่ลงลึกถึงระดับเซลล์ ผลของของการรักษาจึงจะค่อย ๆ ส่งผลดีตามลำดับ จะไม่ใช่การรักษาในแบบที่ฉีดแล้วอาการจะดีขึ้นทันทีหลังการรักษา 

สำหรับโรคที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาด้วยเปปไทด์ CPT/FCT บ่อย ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง อย่างความดันโลหิต เบาหวาน การแพ้ภูมิตนเอง และอาการปวดข้อต่าง ๆ ในการรักษาด้วยเปปไทด์ หากถามว่ามีการแพ้เกิดขึ้นได้หรือไม่ ต้องบอกว่าอาจมีการแพ้ได้ แต่ ณ ปัจจุบันพบได้น้อยมาก

แนวทางการรักษาของกายคตาเป็นการดูแลรักษาแบบองค์รวม เพื่อตอบสนองให้ตรงกับโรคและไลฟ์สไตล์ไปพร้อมๆ กัน การรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวด ประการแรกย่อมต้องช่วยรักษาเพื่อบรรเทาความปวดให้ลดลง หรือหายไป แต่นั่นก็ยังไม่จบ เพราะต้องรักษาลงลึกถึงต้นตอควบคู่ไปพร้อมกัน ซึ่งในหลายโรคต้องใช้การรักษาถึงระดับเซลล์ และเปปไทด์ก็คือหนึ่งในวิธีที่ดีที่จะช่วยกระตุ้นและซ่อมแซมเซลล์ได้อย่างเฉพาะเจาะจง เพียงแต่ต้องใช้เวลาจึงจะเห็นผลของการรักษาด้วยเปปไทด์  


บทความที่เกี่ยวข้อง
รักษา&ฟื้นฟูโรคทางสมองโดยไม่ต้องผ่าตัดกับ TMS
อีกหนึ่งบริบทการรักษาโรคระบบประสาทและสมอง เรียกได้ว่าเป็นแนวทางการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นตัวช่วยในการกระตุ้น ฟื้นฟูระบบประสาทและสมองในหลาย ๆ โรค นั่นก็คือ TMS
Shock Wave เครื่องมือที่ใช่ สำหรับปัญหาความปวด
การทำกายภาพบำบัดโดยเครื่อง Shock Wave Therapy เป็นการรักษาโดยใช้หลักการของคลื่นกระแทกหรือ Shock Wave ด้วยพลังงานจากคลื่นกระแทกที่เกิดจากการอัดของอากาศ
PSF ตัวช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซมการบาดเจ็บกระดูก เส้นเอ็น และข้อ ด้วยเกล็ดเลือดตนเอง
Platelet Special Factors (PSF) เป็นการสกัดแยกเกล็ดเลือดจากเลือดของผู้ป่วยเอง โดยผ่านกระบวนการกระตุ้นให้ออกฤทธิ์มากขึ้น จึงนำมาฉีดกลับไปยังจุดที่เกิดปัญหาในร่างกาย ซึ่งเกล็ดเลือดจะมีการสร้าง Growth Factor ออกมา เพื่อดึงดูดเซลล์มาซ่อมแซม
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy